วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ประเภทของสายไฟฟ้าแรงต่ำ

     ประเภทของสายไฟฟา สายไฟฟาแรงดันต่ํา (Low Voltage Power Cable) : เปนสายไฟที่ใชกับแรงดันไมเกิน 750 V. เปนสายหุมฉนวน ทําดวยทองแดงหรืออลูมิเนียม โดยทั่วไปเปนสายทองแดงสายขนาด เล็กจะเปนตัวนําเดี่ยว แตสายขนาดใหญเปนตัวนําตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใชกับสายแรงดันต่ําคือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross-Linked Polyethylene (XLPE)                                                                      1.  สาย THW  
     
                                                     สายไฟฟาตาม มอก.11-2531 ที่ในทองตลาดนิยมเรียกวา ทีเอชดับเบิลยู (THW) เปนสาย ไฟฟาชนิดทน แรงดัน 750 V เปนสายเดี่ยว นิยมใชกันอยางกวางขวาง โดยเฉพาะใน โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใชในวงจรไฟฟา 3 phase ได ปกติจะเดินรอยในทอรอยสาย ชื่อ THW เปนชื่อตาม มาตรฐานอเมริกัน ซึ่งเปนสายชนิดทนแรงดัน 600 V อุณหภูมิใชงานที่ 75 องศาเซลเซียส แตใน ประเทศไทยนิยม เรียกสายที่ผลิตตาม มอก. 11 -2531 วา สาย THW เนื่องจากมีโครงสรางคลายกันและรูกัน ทั่วไปในทองตลาด การใชงาน :   -   เดินลอย ตองยึดดวยวัสดุฉนวน (insulator) -  เดินในชองเดินสาย ในสถานที่แหง -  หามเดินฝงดินโดยตรง  
                                               2.  สาย VAF     

              
สายไฟตาม มอก.11-2531 ที่ตามทองตลาดเรียกวา สายชนิด วีเอเอฟ (VAF) เปนสายชนิด ทนแรงดนั 300 V มีทั้งชนิดที่เปนสายเดี่ยว สายคู และที่มีสายดินอยูดวย ถาเปนสายเดี่ยวจะเปนสายกลม และถาเปนชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน จะเปนสายแบน ตัวนํานอกจากจะมีฉนวนหุม แลวยังมีเปลือกหุมอีกชั้นหนึ่ง สายคูจะนิยม รัดดวยเข็มขัดรัดสาย(Clip) ใชในบานอยูอาศัยทั่วไป สายชนิดนี้หามใชในวงจร 3 phase ที่มีแรงดัน 380 V เชนกัน (ในระบบ 3 phase แตแยกไปใชงานเปนแบบ 1 phase แรงดัน 220 V. จะใชได)      การใชงาน :  ชนิดกลม                                                                  :  ชนิดแบน                    -   เดินลอย                                                                 -   เดินเกาะผนัง เดินซอนในผนัง                  -  เดินเกาะผนัง เดินซอนในผนัง                                   -   เดินในชองเดินสาย -  เดินในชองเดินสาย                                                  -   หามเดินฝงดินโดยตรง   -  หามเดินฝงดินโดยตรง                                                                   3.  สาย VCT   
                                         
        สายไฟฟาตาม มอก.11 - 2531 ตามทองตลาดเรียกวาสาย วีซีที (VCT) เปนสายกลมมี ทั้งชนิดหนึ่งแกน 2 แกน 3แกนและ 4 แกนทนแรงดันที่ 750 V. มีฉนวนและเปลือกเชนกัน มีขอพิเศษกวาก็คือตัวนําจะประกอบ ไปดวย ทองแดงฝอยเสนเลก็ ๆ ทําใหมีขอดีคือ ออนตัวและทนตอสภาพการสั่นสะเทือนไดดี เหมาะที่จะใช เปนสายเดินเขาเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนขณะใชงาน สายชนิดนี้ ใชงานไดทั่วไปเหมือนสายชนิด NYY สาย VCT มีหลายแบบตามรูปทรงโดยแบงไดทั้งแบบ VCT - GRD ซึ่งมี 2 แกน 3 แกนและ 4 แกนและมี สายดินเดินรวมไปดวยอีกเสนหนึ่งเพื่อใหเหมาะสําหรับใชเครื่องอุปกรณไฟฟาทตี่องตอลงดิน       การใชงาน :  -   ใชงานทั่วไป เดินรอยทอฝงดิน                                                   4.  สาย NYY                                               
          

           สายไฟฟาตาม มอก.11-2531 ตามทองตลาดนิยมเรียกวาสายชนิด เอ็นวายวาย (NYY) มีทั้งชนิดแกนเดียว และหลายแกนสายหลายแกน ก็จะเปนสายชนิดกลมเชนกัน สายชนิดนี้ทนแรงดันที่ 750 V. นิยมใชอยาง กวางขวางเชนกัน เนื่องจากวามี ความทนตอสภาพแวดลอม เพราะมีเปลือกหุมอีกชั้นหนึ่ง บางทีเรียกวาเปน สายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแลวสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียว อีกสองชั้นที่เหลือเปนเปลือกเปลือกชั้นในทํา หนาที่เปนแบบ (Form) ใหสายแตละแกนที่ตีเกลียวเขาดวยกันมีลักษณะกลม แลวจึงมีเปลือกนอกหุม อีก ชั้นหนึ่งทําหนาที่ปองกันความเสียหายทางกายภาพ การใชงาน :  -   ใชงานทั่วไป เดินรอยทอฝงดิน หรือเดินฝงโดยตรง ชนิดของสาย NYY ที่มีชนิดของฉนวนเปน PVC ทนอุณหภูมิได 70oC และตัวนําเปนทองแดงแบงตาม ลักษณะของสายไดดังนี้ - NYY  ชนิดสายเดี่ยว เปนสายที่มีเปลือกเพียงชั้นเดียว ทําหนาที่ปองกันความเสียหายทาง กายภาพ ไมตองมีเปลือกชั้นใน - NYY ชนิด 2 แกน 3 แกน และ 4 แกน ขึ้นอยูกับความตองการของการใชงาน  - NYY ชนิด 4 แกน และมีสายนิวทรัลรวมอยูดวย เรียกวา สาย NYY-N คือมีสายไฟอยู 3 เสน และมีสายนิวทรัลอีก 1 เสน มีขนาดพื้นที่หนาตัดประมาณครึ่งหนึ่งของสายไฟ จึงเหมาะที่ จะใชในวงจร 3 phase 4 สาย - NYY  ชนิด NYY-GRD คือสายชนิด 2 แกน 3 แกน 4 แกน ที่มีสายดนิ (Ground) รวมอยู ดวยอกี 1 เสน จึงเหมาะที่จะใชตอเขากับอุปกรณไฟฟาที่ตองตอลงดิน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง

: ข้อควรรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง ::



 ไฟฟ้าแรงสูงคืออะไร
ไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้าสูงเกินกว่า 1,000 โวลต์ขึ้นไป
 ทำไมจึงต้องใช้ไฟฟ้าแรงสูง
ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกล และมีการสูญเสียทางไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องส่งด้วยไฟฟ้าแรงสูงแทบทั้งสิ้น
ไฟฟ้าแรงสูงมีอันตรายอย่างไร
เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220 โวลต์) ไฟฟ้าแรงสูงจึงสามารถที่จะกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้า เข้าหาวัตถุ หรือ สิ่งมีชีวิตได้ โดยไม่ต้องสัมผัสหรือแตะสายไฟ หากวัตถุนั้นอยู่ภายในระยะอันตราย ที่ไฟฟ้าแรงสูงสามารถกระโดดข้ามได้ ระยะอันตรายนี้ จะขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูง โดยแรงดันยิ่งสูง ระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได ้ก็จะยิ่งไกล ไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมาก ซึ่งสถิติผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง ในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงนั้น มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และทุพพลภาพ ประมาณปีละเกือบ 100 คน
 เราจะทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้านั้นเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง
เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงมีระยะอันตรายที่จะกระโดดข้ามได้ ดังนั้น จึงต้องมีการจับยึดสายไฟฟ้า ด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ในจำนวนที่พอเหมาะกับไฟฟ้าแรงสูงนั้น ฉนวนไฟฟ้าที่ใช้กันส่วนใหญ่ จะทำด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นชั้น ๆ มีรูปร่างเหมือนชามคว่ำ ที่เรียกว่าลูกถ้วย ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ได้จากการยึดสายไฟฟ้าด้วยลูกถ้วยเป็นชั้น ๆ ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วย จะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้า ของไฟฟ้าแรงสูงนั้น
วิธีสังเกตว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูง อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ ระดับความสูงของสายไฟ สายไฟฟ้าแรงสูง มักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป สายไฟฟ้าที่อยู่สูงกว่า มักจะมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าสายไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า
สายไฟฟ้าแรงสูงจะมีฉนวนหุ้มอยู่หรือไม่
สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสายมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้
ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง มีระดับแรงดันไฟฟ้าเท่าใด
ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง ปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ ถึง 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่ และมีการจ่ายด้วยระบบ 230,000 โวลต์อยู่บ้าง การเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควี หรือกิโลโวลต์ เช่น 12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ12 กิโลโวลต์ เป็นต้น


การไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงไว้อย่างไร
1. ระยะห่างระหว่างสายกับ อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา
มาตรฐานระยะห่างในแนวนอนที่ปลอดภัยระหว่าง อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูงมีการกำหนดไว้ดังนี้


2. หมายเหตุ ระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิดที่อาจมีการยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยสำหรับการทำงาน หรือจะต้องมีการหุ้มหรือคลุมสายเพื่อความปลอดภัย
3. ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล
มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานรวมถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด เช่น ปั้นจั่นรถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือ จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้


หมายเหตุ
1. สายไฟฟ้าบางชนิดที่มีการหุ้มฉนวนเป็นพิเศษอาจมีระยะห่างต่ำกว่ามาตรฐานได้ ขอให้ปรึกษาการไฟฟ้านครหลวง
2. หากบริเวณที่ต้องการปฏิบัติงานมีระยะห่างที่ต่ำกว่ามาตรฐานจะต้องแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการหุ้มหรือ คลุมสายก่อนลงมือทำงาน